รุ่นที่ 6 (พ.ศ. 2530-2536) ของ โตโยต้า_โคโรลล่า

โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่ 6โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่ 6

เมื่อความนิยมในการซื้อรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ไปถึงจุดอิ่มตัว ก็ได้มีการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 6 ใน พ.ศ. 2530 และส่งเข้าตีตลาดขายแทนโฉมที่ 5 ในปีพ.ศ. 2531 โฉมนี้ เป็นโฉมที่รถโคโรลล่า ได้เลื่อนขั้นจากรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) เป็นรถขนาดเล็ก (Compact) โฉมนี้ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังหายไป ได้มีการเพิ่มการผลิตรูปแบบตัวถัง hatchback 5 ประตู

โฉมนี้ ผลิตในช่วงที่ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รถโฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มา แต่ก็ยังผลิตรถรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดอยู่ เครื่องยนต์ก็ยังมีทั้งระบบเบนซิน ในขนาดเครื่องยนต์ 1.3 (2E 4 สูบ OHC 12 วาล์ว 1,295 ซีซี 72 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.3 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที) , 1.5 (5A-F,5A-FE 1,500 ซีซี คาร์บิวเรเตอร์ 85 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.5 กก.-ม.ที่ 3,300 รอบ/นาที และ 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.1 กก.-ม.ที่ 4,400 รอบ/นาทีสำหรับรุ่นหัวฉีด EFI) , 1.6 ลิตร (4A-F 1,587 ซีซี 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.0 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที รวมทั้งรุ่น SPORTY ที่เปลี่ยนคาร์บิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ 4A-F มาเป็นเวบเบอร์ ท่อคู่ดูดข้าง 106 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.9 กก.-ม.ที่ 4,200 รอบ/นาที, 4A-FE 1,587 ซีซี 102 แรงม้า (PS) ที่ 5,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.83 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที, 4A-GE 16v 1,587 ซีซี 130.5 แรงม้า (PS) ที่ 7,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.3 กก.-ม.ที่ 6,000 รอบ/นาที.) *เครื่องยนต์4A-FEมีขายในเฉพาะญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา และแบบดีเซล ในขนาดลูกสูบ 2.0 ลิตร (1C) และยังมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงโฉมนี้ โคโรลล่า เลวิน, โคโรลล่า ทรูโน และโคโรลล่า สปรินเตอร์ ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และโฉมนี้ พ่อค้าเต๊นท์รถในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "โฉมโดเรมอน" ด้วยรูปทรงหน้าตาที่ละม้ายคล้ายคลึงตัวการ์ตูนอย่างโดเรม่อน ผสานเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ทนทาน และล้ำสมัยในสมัยนั้น

โฉมนี้ ในเมืองไทยจะรู้จักกันดีในฐานะของโฉมที่มีเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 16 วาล์ว รุ่นแรกที่มีขายในไทย ในช่วงนั้น มักมีสัญลักษณ์อักษรเขียนว่า "TWINCAM 16 VALVE" ไว้เป็นสัญลักษณ์ที่ประตูรถในรถบางคัน และเป็นเอกลักษณ์ของโคโรลล่าโฉมนี้ด้วย นอกจากนี้ รุ่นท้ายๆ ของโฉม โคโรลล่าในไทยได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ระบบหัวฉีด (เฉพาะรุ่นGTiเครื่องยนต์ 4A-GE 16v.) ซึ่งประหยัดน้ำมันกว่า และสามารถเติมแก๊สโซฮอล์ ได้ รถรุ่นนี้ในปัจจุบันถือว่าหายากมาก เพราะเพราะจำนวนรถในตลาดถึอว่าน้อยพอสมควร และยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมรถในเมืองไทยเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม โฉมโดเรมอนส่วนใหญ่ ยังเป็นคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งไม่เหมาะกับเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์

คู่แข่งโดยตรงที่สำคัญของโคโรลล่าในโฉมนี้คือ ฮอนด้า ซีวิค/แอคคอร์ด, นิสสัน ซันนี่/บลูเบิร์ด, มิตซูบิชิ แลนเซอร์/กาแลนต์, มาสด้า 323/626,

โฉมนี้ เลิกผลิตใน พ.ศ. 2535 ในประเทศไทย หนึ่งปีหลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 7 และในสหรัฐอเมริกาเลิกผลิตใน พ.ศ. 2536

โฉมนี้มีจำหน่ายในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2535

แหล่งที่มา

WikiPedia: โตโยต้า_โคโรลล่า http://www.toyota.co.th/altis/ http://blog.toyota.co.uk/toyota-corolla-enters-an-... https://www.motoring.com.au/new-toyota-corolla-sed... https://www.carscoops.com/2018/11/new-2020-toyota-... https://www.cnet.com/roadshow/news/2020-toyota-cor... https://www.motorauthority.com/news/1115462_toyota... https://www.toyota-europe.com/world-of-toyota/arti... https://toyotanews.pressroom.toyota.com/releases/a... https://newsroom.toyota.co.jp/en/toyota/25286889.h... https://newsroom.toyota.co.jp/en/toyota/25357603.h...